Diaphragm วาล์ว

วาล์วทุกชนิดจะมีข้อเสียอยู่อย่างคือของไหลที่ไหลอยู่ในท่อมีโอกาสที่จะรั่วซึมออกมาทางผิวสัมผัสที่เกิดจากการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของตัววาล์วเข้าด้วยกัน (โดยเฉพาะตามแนว stem ออกมา) ในกรณีของสารเคมีที่เป็นอันตรายมาก การรั่วไหลดังกล่าวแม้ว่าจะน้อยมากก็ไม่อาจยอมรับได้ ซึ่งในงานแบบนี้ Diaphragm  วาล์ว จะทำหน้าที่ได้ดีกว่า

sisto-16twa-diaphragm-valve-img

การทำงานของ Diaphragm  วาล์ว  จะใช้การกดแผ่นไดอะแฟรม (1) ซึ่งทำจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่น (ซึ่งมักเป็นวัสดุพวกพอลิเมอร์) ให้ลงไปกดแนบกับ seat (2) ที่อยู่ข้างล่าง ก็จะเป็นการปิดวาล์ว เมื่อเราลดแรงกดด้วยการขันนอตที่ทำหน้าที่กดแผ่นไดอะแฟรมให้ยกตัวสูงขึ้น ตัวแผ่นไดอะแฟรมก็จะยกตัวขึ้นด้วยคุณสมบัติการยืดหยุ่นของมันเอง ทำให้วาล์วเปิดตัว หลักการเดียวกันกับเวลาที่หมอหรือพยาบาลปรับอัตราการไหลของน้ำเกลือที่ใหักับผู้ป่วย ซึ่งเขาใช้วิธีบีบสายยางให้น้ำเกลือ (ไม่รู้ว่าเคยโดนบ้างหรือยัง ถ้ายังไม่เคยโดยก็ถือว่าโชคดีมาก)

ไดอะแฟรมวาล์วทำงานได้ดีกับของเหลวที่มีของแข็งแขวนลอยปะปนอยู่ เพราะแม้ว่าจะมีของแข็งตกค้างอยู่บริเวณ seat ในขณะที่ทำการปิดวาล์ว แต่ด้วยความยืดหยุ่นของแผ่นไดอะแฟรมเองก็ทำให้สามารถปิดวาล์วได้สนิทได้ แต่การใช้แผ่นไดอะแฟรมทำให้วาล์วชนิดนี้ไม่สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิและความดันที่สูง

การกันการรั่วก้านวาล์วสามารถทำได้ 2 แบบ อะไรบ้างไปดูกันค่ะ

การกันรั่วก้านวาล์วสามารถทำได้สองแบบได้แก่ แพ็กกิง และ แบบไดอะแฟรม

   การกันรั่วก้านวาล์วแบบโครงสร้างแพ็กกิงกดอัดประกอบด้วยปะเก็นที่เป็นวัสดุอ่อนนุ่มที่อัดเข้าไปในช่องอัดปะเก็นและกดอัดไว้ด้วยตัวอัดปะเก็น ปะเก็นจะขยายตัวออกด้านข้างจนติดกับผนังช่องอัดปะเก็นและก้านวาล์ว โดยปะเก็นที่ใช้จะต้องสามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูง มีความต้านทานต่อของไหลที่มากระทำ มีความเสียดทานต่ำ ต้านทานการซึมผ่านของไหลที่กันรั่ว นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ทำก้านวาล์วก็มีผลต่อการกันรั่วเช่นกันเนื่องจากถ้าก้านวาล์วเกิดการสึกหรอจะทำให้เกิดร่องซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการรั่วบริเวณดังกล่าวได้เช่นกัน

doe_mechanical_science_gate_valve

การกันรั่วก้านวาล์วแบบโครงสร้างไดอะแฟรมจะมีลักษณะเป็น Dome หรือ Bellow ก็ได้โดยไดอะแฟรมจะปิดกั้นก้านวาล์วกับของไหลทำให้ของไหลไม่สามารถรั่วออกไปได้ สำหรับแบบ Dome วาล์วขณะปิดจะต้องเอาชนะแรงดันของของไหลที่เพิ่มขึ้นรวมถึงระยะเคลื่อนที่ขึ้นลงของก้านวาล์วทำได้น้อยจึงนิยมใช้กับวาล์วที่มีขนาดเล็ก ส่วนแบบ Bellow จะมีลักษณะตรงข้ามกับ Dome คือมีพื้นที่รับแรงดันของไหลน้อยจึ่งทำให้การปิดก้านวาล์วใช้แรงน้อยกว่านอกจากนั้นยังสามารถยืดหดในแนวแกนวาล์วได้มากจึงเหมาะกับวาล์วที่มีลักษะการปิดแบบยกขึ้นลงขนาดใหญ่ และเพื่อเป็นการป้องกันการรั่วไหลเนื่องจากไดอะแฟรมแตกจึ่งมักใช้ร่วมกับตัวกันรั่วแบบแพ็กกิงกดอัดด้วย       การเลือกขนาดของวาล์วจะต้องทราบว่าในระบบต้องการอัตราการไหลของของไหลมากน้อยเพียงใด โดยขนาดของวาล์วจะเลือกให้การเปิดที่ประมาณ 80% เท่ากับอัตราการไหลที่ระบบต้องการ เพื่อเป็นการเผื่อสำหรับกรณีที่ระบบต้องการอัตราการไหลเพิ่ม โดยปกติอัตราการไหลที่ระบบต้องการจะน้อยกว่าอัตราการไหลของแหล่งกำเนิดดังนั้นวาล์วจะต้องทำหน้าที่ปรับอัตราการไหลให้เหมาะสมด้วย ถ้าเลือกขนาดวาล์วใหญ่เกินไปในการปรับอัตราการไหลจะต้องปิดวาล์วบางส่วนทำให้แรงดันตกคร่อมหน้าวาล์วมากขึ้นส่งผลให้เกิดการเสียดสีระหว่างของไหลกับบ่าวาล์วมากทำให้เกิดการสึกหรออายุการใช้งานลดลง นั้นจึงเป็นสาเหตุทำให้วาล์วส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่าขนาดท่อ หรือ ทำให้ขนาดหน้าวาล์วเล็กลง (Reduce port)