บ้านไม่มีหลังคาก็เหมือนครอบครัวที่ไม่มีความรัก ไม่มีอะไรคอยปกคลุมให้อุ่นหัวใจ หลังคาบ้านจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างบ้าน แบบหลังคาบ้านที่เหมาะกับประเทศเราความจริงแล้วก็มีไม่ค่อยมาก ด้วยอากาศที่ร้อนชื้น จึงมีหลายเหตุผลที่หลายคนเลือกในแบบหลังคาที่ซ้ำ ๆ บทความนี้เราจะพาทำความรู้จักแบบหลังคาบ้านกันค่ะ
หลังคาทรงจั่ว
หลังคาทรงจั่ว (gable roof) เป็นรูปแบบหลังคาที่นิยมใช้ในบ้านเรามาเนิ่นนาน เนื่องจากมีความลาดเอียงมาก ทำให้น้ำฝนไหลลงสู่ด้านล่างได้อย่างรวดเร็ว พบปัญหาการรั่วซึมน้อยมาก และด้วยความลาดเอียงที่มีมากนี้ทำให้ลดการแตกหักของวัสดุที่ใช้มุงหลังคาจาก ลูกเห็บ ลม ฝน หรือกิ่งไม้ที่ตกใส่ จึงไม่แปลกที่บ้านโบราณสมัยก่อนจะมีทรงหลังคาแบบจั่ว โครงสร้างของหลังคาที่มีออกแบบให้มีมวลอากาศมากทำให้กลายไปเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี หากเจาะช่องลมตรงหน้าจั่วทั้งสองด้านก็จะช่วยระบายความร้อนได้ดีขึ้น เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ร้อนชื้นอย่างประเทศไทย
ข้อเสียของหลังคาทรงจั่วคือ อาจโดนฝนสาดได้ถ้าทิศทางของลมขณะฝนตกเป็นทิศที่หันเข้าจั่วของบ้าน แก้ปัญหาได้ด้วยการติดกันสาดหรือต่อส่วนของมุขออกมา
หลังคาทรงปั้นหยา
หลังคาทรงปั้นหยา ทรงหลังคาที่ได้รับความนิยมในบ้านเราอีกแบบหนึ่งคงต้องยกให้ ทรงปั้นหยา (hip roof) หลังคามีลักษณะคล้ายพีระมิด ครอบคลุมทุกด้านของตัวบ้านทั้ง 4 ด้าน มีมุมลาดเอียงน้อยกว่าทรงจั่วซึ่งทำให้คุณสมบัติการระบายน้ำฝนและการรั่วซึมด้อยกว่าทรงจั่ว เนื่องจากมีรอยต่อของหลังคามากกว่า และด้วยโครงสร้างที่ไม่สูงโปร่งทำให้ระบายความร้อนได้น้อยกว่า สามารถแก้ไขด้วยวิธีใช้วัสดุกันความร้อน เช่น ฉนวนกันความร้อน หรือแผ่นสะท้อนความร้อนสำหรับติดใต้หลังคา
หลังคาทรงปั้นหยา ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 – 6 ข้อดีของหลังคาทรงนี้คือ ทนทานสามารถกันแรงปะทะของลมได้ดี ทั้งยังกันแดดและฝนได้ทุกด้าน
หลังคาทรงมนิลา การผสมผสานระหว่างหลังคาทรงจั่วและปั้นหยาเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดหลังคาทรงมนิลาขึ้น ส่วนใหญ่จะนิยมประยุกต์ใช้กับบ้านสไตล์ร่วมสมัย เป็นการนำเอาของดีของทั้งสองมาไว้ด้วยกัน ลักษณะเด่นของหลังคาปั้นหยาที่มีความแข็งแรง สามารถปะทะแรงลมได้ดี กันแดและฝนได้รอบด้านของตัวบ้าน ผสานเข้ากับจั่วมีหน้าที่ระบายอากาศ ช่องอากาศที่หน้าจั่วช่วยให้ลมไล่อากาศร้อนลอยตัวออกมา ความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์นี้เราสามารถพบเห็นได้มากในเรือนทรงไทยล้านนาของทางภาคเหนือ
หลังคาบ้านทรงปีกผีเสื้อ
ปีกผีเสื้อ ชื่อเรียกดังกล่าวนี้ เรียกตามแบบหลังคา โดยมีลักษณะหลังคาที่แหงนออกสองด้าน โดยด้านนอกเป็นมุมสูง ตรงกลางหลังคาจะเป็นมุมต่ำ ลักษณะคล้ายๆ กับ ผีเสื้อกำลังกระพือปีกเพื่อบิน ส่วนตรงกลางของหลังคา ทำเป็นรางน้ำ อาจให้เอนมาด้านใดด้านหนึ่ง สามารถรองรับน้ำฝนได้ดีกว่าหลังคาประเภทอื่นๆ ให้ความเป็นโมเดิร์น ดูทันสมัย
ทรงปีกผีเสื้อ เป็นโครงหลังคาที่แหงนออกทั้งสองด้าน โดยด้านนอกเป็นมุมสูง ตรงกลางจะเป็นมุมต่ำ ลักษณะคล้ายผีเสื้อกระพือปีกบิน ส่วนตรงกลางมักทำเป็นรางน้ำ อาจให้เอนมาด้านใดด้านหนึ่ง เป็นหลังคาที่สามารถรองรับน้ำฝนได้ดีกว่าหลังคาแบบอื่น รวมถึงให้ความเป็นโมเดิร์น ทันสมัย
หลังคาแบบผีเสื้อ (BUTTERFLY)
หลังคาชนิดนี้ประกอบด้วยหลังคาเพิงหมาแหงน 2 หลังหันด้านที่ต่ำกว่ามาชนกันค่ะ ไม่ค่อยเหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ฝนตกชุกแบบเมืองไทยสักเท่าไร เนื่องจากต้องมีรางน้ำที่รองรับน้ำฝนจากหลังคาทั้ง 2 ด้าน ทำให้รางน้ำมีโอกาศรั่วซึมได้สูง จึงไม่เป็นที่นิยมสร้างกันมากนัก ยกเว้นอาคารที่ต้องการลักษณะเฉพาะพิเศษที่แปลกตาออกไป
หลังคา เพิงหมาแหงน
เพิงหมาแหงน ชื่อเรียกดังกล่าวนี้ เรียกตามลักษณะท่าทางของสัตว์ เช่นเดียวกับปีกผีเสื้อ หมา หรือ สุนัข มักนั่งท่าแหงน เชิดหน้าขึ้นฟ้า ดูเท่ห์สง่างาม บ้านลักษณะดังกล่าว จึงให้ความเป็นโมเดิร์นทันสมัย เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้ว มักนิยมให้แหงน
ทรงเพิงหมาแหงน เป็นหลังคาที่มีลักษณะแบนราบแต่ลาดเอียงโดยยกด้านหน้าสูงกว่าด้านหลัง และมีเชิงชายรอบตัวบ้าน โดยอาจจะออกแบบให้ด้านหน้ามีเชิงชายยื่นออกมามากกว่าด้านอื่นๆ เล็กน้อยเพื่อให้บังแดดด้านหน้าบ้านได้ดี และการทำลาดเอียงจะช่วยระบายน้ำฝนได้เร็วอีกด้วย โดยทั่วไปเราอาจจะพบเห็นหลังคาเพิงหมาแหงนในบ้านที่มีรูปทรงแบบโมเดิร์น
หลังคาเพิงหมาแหงน (LEAN TO)
เป็นหลังคาที่ยกให้อีกด้านสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้ เหมาะสมสำหรับบ้านขนาดเล็ก เนื่องจากก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ราคาประหยัด แต่ต้องระวังให้หลังคามีองศาความลาดเอียงมากพอ ที่จะระบายน้ำฝนออกได้ทัน ไม่ไหลย้อนซึมกลับเข้ามาได้ โดยอาจพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น เช่น ความชันจากขนาดของหลังคา วัสดุมุงหลังคา และระยะซ้อนของหลังคา เป็นต้น ในกรณีที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงที่น้ำฝนจะไหลย้อนซึมเข้ามาได้ ก็ควรใช้ความลาดชันมากขึ้นตามลำดับ เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้รวดเร็วขึ้น
หลังคาเพิงหมาแหงน หรือเพิงแหงนตามชื่อเป็นทรงหลังคาที่เน้นการสร้างที่ง่ายๆ นิยมสร้างสำหรับเพิงพักชั่วคราวในสวนในไร่ เป็นหลังคาที่มีลักษณะแบนราบแต่ลาดเอียงโดยยกด้านหน้าสูงกว่าด้านหลัง และมีเชิงชายรอบตัวบ้าน โดยอาจจะออกแบบให้ด้านหน้ามีเชิงชายยื่นออกมามากกว่าด้านอื่นๆเล็กน้อยเพื่อให้บังแดดด้านหน้าบ้านได้ดี และการทำลาดเอียงจะช่วยระบายน้ำฝนได้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปเราอาจจะพบเห็นหลังคาเพิงหมาแหงนในบ้านที่มีรูปทรงแบบสมัยใหม่ (Modern) และ อาจะมีการเพิ่มลูกเล่นในการทำหลังคาแบบ ซ้อนกันหรือทำแบบสองแผ่นเอียงไปคนละด้านก็ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มลูกเล่นและความสวยงามให้แก่ตัวบ้าน
หลังคาบ้าน ทรงโค้งกลม
ใน 5 แบบข้างต้นนี้ เป็นลักษณะหลังคาที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุกระเบื้องประเภทต่างๆ แต่สำหรับหลังคากลม แน่นอนว่า ไม่สามารถใช้กระเบื้อได้ เนื่องจากแผ่นกระเบื้อง ไม่รองรับความโค้งงอ นิยมใช้วัสดุประเภท โลหะรีดลอน (Metal Sheet) วัสดุสังเคราะห์ทำจากไฟเบอร์กลาส หุ้มด้านหน้า ด้านหลังด้วยยางมะตอย หรืออาจเลือกใช้วัสดุแผ่นทองแดง ซึ่งสามารถขึ้นรูปดัดโค้งและสั่งผลิตได้ตามต้องการเช่นกัน หลังคาโค้ง ให้รูปลักษณะบ้านที่ดูแตกต่าง แต่ค่าใช้จ่ายสูง
ทรงโค้งกลม จากหลังคาทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นลักษณะของหลังคาที่ต้องใช้ร่วมกับกระเบื้องประเภทต่างๆ แต่สำหรับหลังคากลม แน่นอนว่าไม่สามารถใช้กระเบื้องได้ แต่ต้องใช้โลหะรีดลอน หรือวัสดุสังเคราะห์จากไฟเบอร์กลาสหุ้ม ซึ่งถ้าหากโครงสร้างมีรัศมีน้อยกว่าค่ามาตรฐานของผู้ผลิต อาจทำให้เกิดการซ้อนทับกันของแผ่นหลังคาไม่แนบสนิท และน้ำรั่วซึมได้