แบงค์ปลอม คืออะไร
คือกระดาษA4 ธรรมดา ที่ถูกปริ้นภาพออกมาจากคอมพิวเตอร์และนำมาถ่ายเอกสารและเลือกแบงก์ต้นฉบับที่ค่อนข้างเก่าเพื่อให้สีสันของแบงก์ปลอมออกมาเหมือนของจริงไม่อย่างนั้นสีจะดูสดหลอกตา ถ้าหากจะปลอมแบงก์ 100 จะใช้กระดาษเอ 4 สีชมพู และถ้าหากจะปลอมแบงก์ 1,000 จะใช้กระดาษเอ 4 สีขาว พอปริ๊นท์ออกมาเป็นแผ่นแล้วก็จะใช้กรรไกรตัดให้เสมอขอบเพื่อปลอมแปลงเป็นธนบัตรให้ดูเหมือนของจริงมากที่สุด
ส่วนกระดาษที่แบงก์ชาติใช้จะเป็นกระดาษใยฝ้าย ที่ผสมเมลามีน ผสมน้ำมันสน และผสมสารเคมี เพื่อให้เนื้อกระดาษเหนียว ฉีกขาดยาก ส่วนหมึกนั้นก็เป็นหมึกที่ผสมสูตรขึ้นโดยเฉพาะ ยากที่จะลอกเลียนแบบ
หมึกพิมพ์พิเศษสลับสี ที่ตัวเลขแจ้งราคามุมขวาบนของธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท พิมพ์ด้วยหมึกชนิดพิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรไปมาสีของตัวเลข 500 จะเปลี่ยนสลับจากสีเขียวเป็นสีม่วง ส่วนสีของตัวเลข 1000 ด้านบนจะเปลี่ยนสลับจากสีทองเป็นสีเขียว
แถบฟอยล์สีเงิน ผนึกอยู่บนด้านหน้าเบื้องซ้ายของธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท จะมองเห็นเป็นหลายมิติแตกต่างกันตามชนิดราคา และจะเปลี่ยนสีสะท้อนแสงวาววับ เมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมา
ตัวเลขแฝง ซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์มุมล่างซ้ายของธนบัตรทุกชนิดราคา เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่างและมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตรในมุมที่เหมาะสม จะเห็นตัวเลขอารบิกแจ้งชนิดราคาธนบัตรฉบับนั้น
อุปกรณ์เครื่องตรวจแบงค์ปลอม
นอกจากวิธี สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียงแล้ว ธนบัตรรัฐบาลยังมีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่สังเกตได้เพิ่มขึ้น หากนำอุปกรณ์เครื่องตรวจแบงค์ปลอมมาช่วยในการตรวจสอบ ดังนี้
– เตรื่องตรวจแบงค์ปลอม
– หลอดไฟแบล็กไลท์ เมื่อนำธนบัตรรัฐบาลส่องภายใต้รังสีเหนือม่วง (Ultraviolet Light) หรือหลอดไฟแบล็กไลท์จะปรากฎ
– เส้นใยเรืองแสง สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ในเนื้อกระดาษธนบัตร
– หมวดอักษรและเลขหมาย เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง
– ลวดลายสีพื้นบางส่วนจะเปลี่ยนสีและเรืองแสงแตกต่างกันไปตามชนิดราคา